เมนู

อรถกถาโกสลสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในโกสลสูตรที่ 4.
บทว่า ธมฺมวินโย ความว่า บททั้ง 2 ว่า ธรรมหรือวินัยนั้น
เป็นชื่อของสัตถุศาสน์เท่านั้น. บทว่า สมาทเปตพฺพา ได้แก่ อันเธอทั้งหลาย
พึงให้ถือเอา. บทว่า เอโกทิภูตา ได้แก่ ความเป็นผู้มีจิตสงบด้วยขณิกสมาธิ.
บทว่า สมาหิตา เอกคฺคจิตฺตา ความว่า มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ และมีจิต
มีอารมณ์เดียว ด้วยสามารถอุปจาระและอัปปนา. ในสูตรนี้ สติปัฏฐาน อัน
ภิกษุใหม่ทั้งหลายและพระขีณาสพทั้งหลายเจริญแล้ว เป็นบุพภาค. พระเสขะ
7 จำพวกเจริญแล้ว เป็นมิสสกะคลุกเคล้ากัน.
จบอรรถกถาโกสลสูตรที่ 4

5. อกุสลราสิสูตร *



กองอกุศล 5


[696] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
พระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าว
ให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ 5. เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ 5.
นิวรณ์ 5 เป็นไฉน. คือกามฉันทนิวรณ์ 1 พยาบาทนิวรณ์ 1 ถีนมิทธ
นิวรณ์ 1 อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ 1 วิจิกิจฉานิวรณ์ 1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
* สูตรที่ 5 ไม่มีอรรถกถาแก้

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศลจะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ 5 เหล่านี้. เพราะ
กองอกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่นิวรณ์ 5.
[697] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก
ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน 4. เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4.
สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่. ย่อม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล
จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน 4. เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่
สติปัฏฐาน.
จบอกุสลราสิสูตรที่ 5

6. สกุณัคฆีสูตร



ว่าด้วยอารมณ์โคจร


[698] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว เหยี่ยวโฉบลงจับนก
มูลไถโดยรวดเร็ว ครั้งนั้น นกมูลไถกำลังถูกเหยี่ยวนำไป ได้รำพันอย่างนี้
ว่า เราะเป็นผู้อับโชค มีบุญน้อย ที่เที่ยวไปในถีนของผู้อื่น อันมิใช่ถิ่นหากิน.
ถ้าวันนี้ เราไปเที่ยวในถีนอันเป็นของบิดาตน ซึ่งควรเที่ยวไปไซร้ เหยี่ยว
ตัวนี้เราอาจต่อสู้ได้.
เหยี่ยวจึงถามว่า แน่ะนกมูลไถ ก็ถีนซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นที่
หากินของเจ้าเป็นเช่นไร.
นกมูลไถตอบว่า คือ ที่ ๆ มีก้อนดิน ซึ่งเขาทำการไถไว้.
ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน อวดอ้างกำลังของตน ปล่อย
นกมูลไถไป พร้อมด้วยบอกว่า เจ้าจงไปเถิด นกมูลไถ เจ้าจะไปแม้ในที่นั้น
ก็ไม่พ้นเราได้. นกมูลไถจึงไปยังที่ ๆ มีก้อนดินซึ่งเขาทำการไถไว้ ขึ้นสู่ก้อน
ใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวอยู่ว่า แน่ะเหยี่ยว บัดนี้ท่านจงมาจับเราเถิด แน่ะเหยี่ยว
บัดนี้ท่านจงมาจับเราเถิด. ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน อวดอ้างใน
ในกำลังของตน จึงห่อปีกทั้ง 2 โฉบนกมูลไถโดยรวดเร็ว. ครั้งใด นกมูลไถ
รู้ว่าเหยี่ยวนี้โฉบลงมาเร็วจะจับเรา ครั้งนั้น ก็หลบเข้าซอกดินนั่นเอง. เหยี่ยว
ยังอกให้กระแทกดิน (ตาย) ในที่นั้นเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนกมูลไถ
เที่ยวไปในถิ่นอื่น อันมิใช่ถิ่นหากิน ย่อมเป็นเช่นนี้แล.